กีฬาวอลเลย์บอล
วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล
ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล
กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2438 โดย William G. Morgan ผู้อำนวยการด้านพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A. ( Young Mans Christian Association) เมืองโฮล์โยค ( Holyoke) มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขาได้พยายามคิดและดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการหรือผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดูกาล และเขาก็เกิดความคิดขึ้นในขณะที่ได้ดูเกมเทนนิส เพราะกีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น แร็กเกต ลูกบอล ตาข่าย และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมาก จึงได้มีแนวคิดที่จะใช้ตาข่ายสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว จากพื้นซุงเป็นระดับสูงกว่าความสูงเฉลี่ยของผู้ชาย และได้ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลมาทำเป็นลูกบอล แต่ปรากฏว่ายางในลูกบาสเกตบอลเบาและช้าเกินไป จึงได้ใช้ยางนอกของลูกบาสเกตบอล ซึ่งก็ปรากฏว่าใหญ่และหนาเกินไปไม่เหมาะสม ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2449 Morgan ได้ติดต่อบริษัท A.G.Spalding and Brother ให้ทำลูกบอลตัวอย่างขึ้น 1 ลูก โดยมีขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว น้ำหนัก 9-12 ออนซ์ เพื่อนำมาใช้แทนลูกบาสเกตบอล
วิลเลียม จี มอร์แกน
ผู้อำนวยการด้านพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A
ในปี พ.ศ. 2495 คณะกรรมการบริหารสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ใช้ชื่อเป็นคำเดียวคือ Volleyball และนาย Morgan ได้แนะนำวิธีการเล่นให้แก่ Dr.Frank Wook ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ และ John Lynoh หัวหน้าหน่วยดับเพลิง โดยได้ร่วมกันร่างกฎเกณฑ์ในการเล่นขึ้น 10 ข้อ ดังนี้
1.เกม (Game) เกมหนึ่งประกอบด้วย 9 อินนิ่ง (Innings) เมื่อครบ 9 อินนิ่ง ฝ่ายใดได้คะแนนมากว่าเป็นฝ่ายชนะ
2. อินนิ่ง หมายถึง ผู้เล่นของแต่ละชุดได้เสิร์ฟทุกคน
3. สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 25 ฟุต ยาว 50 ฟุต
4. ตาข่ายกว้าง 2 ฟุต ยาว 27 ฟุต สูงจากพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว
5. ลูกบอลมียางในหุ้มด้วยหนังหรือผ้าใบ วัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 นิ้วและไม่เกิน 27 นิ้ว มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 9 ปอนด์ และไม่เกิน 12 ปอนด์
6. ผู้เสิร์ฟและการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟจะต้องยืนด้วยเท้าหนึ่งบนเส้นหลัง และตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว อนุญาตให้ทำการเสิร์ฟได้ 2 ครั้ง เพื่อที่จะส่งลูกบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้เช่นเดียวกับเทนนิส การเสิร์ฟจะต้องตีลูกบอลได้อย่างน้อย 10 ฟุต และห้ามเลี้ยงลูกบอล อนุญาตให้ถูกตาข่ายได้ แต่ถ้าลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นๆ ก่อนถูกตาข่ายและถ้าลูกข้ามตาข่ายไปยังแดนคู่ต่อสู้ถือว่าดี แต่ถ้าลูกออกนอกสนาม จะหมดสิทธ์การเสิร์ฟ ครั้งที่ 2
7. การนับคะแนนลูกเสิร์ฟที่ดีฝ่ายรับจะไม่สามารถโต้ลูกกลับมาได้ให้นับ 1 คะแนนสำหรับฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่จะสามารถทำคะแนนได้คือฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำลูกบอลเสียในแดนของตนเอง ผู้เสิร์ฟจะหมดสิทธิ์ในการเสิร์ฟ
8. ลูกบอลถูกตาข่าย (ลูกเสิร์ฟ) ถ้าเป็นการทำเสียครั้งที่ 1 ให้ขานเป็นลูกตาย
9. ลูกบอลถูกเส้น ให้ถือเป็นลูกออก
10. การเล่นและผู้เล่น การถูกตาข่ายโดยผู้เล่นทำลูกบอลติดตาข่าย หรือ ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวาง และกระดอนเข้าสู่สนามถือเป็นลูกดี
ปี พ.ศ. 2495 ได้มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงขึ้นครั้งแรก โดยมีนาย Migaki Nishikawa ประธานสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยจัดให้มีการแข่งขันระหว่างประเทศในแถบตะวันออกไกล และกีฬาวอลเลย์บอลนี้ได้ถูกจัดเข้าแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกที่เมืองเฮลซิงกิ และมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่เมืองสโคร์ จากนั้นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งญี่ปุ่นก็มีการส่งเสริมกีฬาชนิดนี้มาก โดยส่งทีมวอลเลย์บอลของมหาวิทยาลัย Lashita ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันของประเทศญี่ปุ่นไปแข่งที่สหรัฐอเมริกา
กฎและกติกา วอลเล่ย์บอล
กฎและกติกา
การแข่งขัน
ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที
ตำแหน่งของผู้เล่น
ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
การเล่นลูกบอล
ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟ
จะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การบล็อก
ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูกเสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูกลูกบอลได้
การล้ำแดนผิดระเบียบ ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การขอเวลานอก ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมีเวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่บริเวณเขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง
การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน
ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ถ้ามีเหตุระหว่างเล่นให้หยุด แล้วเล่นลูกนั้นใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องหยุดนานไม่เกิน 4 ชม.ถ้าทำการแข่งขันใหม่ใช้สนามเดิม เซตที่หยุดการแข่งขันจะนำมาแข่งขันตามปกติ ถ้าใช้สนามอื่นให้ยกเลิกเซตนั้นแล้วเริ่มต้นใหม่ ผลของเซตที่ผ่านมามีผลเหมือนเดิม ถ้าหยุดเกิน 4 ชั่วโมงต้องเริ่มแข่งใหม่ทั้งหมด
การหยุดพัก
พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วนการพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสนามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
การเปลี่ยนแดน
เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น
ทักษะการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลมีทักษะส่วนบุคคลพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการเล่นหลายประเภท ซึ่งผู้เริ่มเล่นวอลเลย์บอลจำเป็นต้องเริ่มฝึกในพื้นฐานเหล่านี้ สำหรับในตอนนี้จะได้นำเสนอทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการเล่นวอลเลย์บอลในภาพรวมทุกทักษะ เพื่อที่จะได้ทราบว่าแต่ละทักษะมีวิธีการและความสำคัญอย่างไร
รูปแบบทักษะพื้นฐานที่ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาจะต้องสนใจมี 7 ประเภท ซึ่งทักษะทั้งหมดจำเป็นต้องใช้ในการแข่งขัน ในการฝึกนอกจากผู้เล่นจะสามารถปฏิบัติทักษะพื้นฐานทั้งหมดได้แล้วยังต้องสามารถเชื่อมโยงการเล่นในแต่ละทักษะได้ด้วย สำหรับการเล่นเป็นทีมนั้นหากผู้เล่นไม่มีความชำนาญในแต่ละทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเล่นวอลเลย์บอลก็จะทำให้การเล่นเป็นทีมทำได้ยาก
ทักษะส่วนบุคคลที่จำเป็นสำหรับการเล่นวอลเลย์บอล
ท่าทางและการเคลื่อนที่ (Postures and movement)
การส่งบอลด้วยมือล่างและมือบน (Pass and Set-up)
การตบ (Spike)
การเสริฟ (Service )
การรับลูกตบและการรองบอล (Attack reception and net recovery)
การรับลูกเสริฟ (Service reception)
การสกัดกั้น (Blocking)
ท่าทางและการเคลื่อนที่ (Postures and movement)
ท่าทาง (Postures)
ลักษณะท่าทางของผู้เล่นจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ท่าทางของผู้เล่นในแดนหน้าเมื่อทำการสกัดกั้นและท่าทางเมื่อเป็นผู้เล่นแดนหลังในการรับตบรับเสริฟหรือรับบอลจากคู่ต่อสู้
ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่นเมื่ออยู่แดนหลังมีลักษณะดังนี้
ยืนงอเข่าโดยปลายเท้าอยู่หน้าหัวเข่า
น้ำหนักตัวทิ้งไปที่ปลายเท้า
เท่าทั้ง 2 ข้างห่างกันประมาณ 1 ฟุต
น้ำหนักตัวทิ้งไปด้านหน้าให้มากที่สุด
ยืนเปิดส้นเท้า
แขนทั้ง 2 ข้างอยู่ด้านหน้าลำตัวเพื่อเตรียมตัวรับบอลได้ง่า ยท่าทางการเตรียมรับที่ถูกต้องสำหรับผู้เล่นแดนหลังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ท่าทางที่ถูกต้องจะทำให้ประสิทธิภาพการรับบอลสูงขึ้นด้วย หากเราพิจารณาความเร็วของลูกตบจะทำให้เราเห็นภาพว่าทำไมท่าทางการรับที่ถูกต้องจึงจำเป็นในการเล่นวอลเลย์บอล
ความเร็วของลูกบอลที่เกิดจากการตบ
ทีมชาย 27 เมตร/วินาที หรือ 60.6 ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะจากตาข่ายถึงเส้นหลัง 0.333 วินาทีทีมหญิง 18 เมตร/วินาที หรือ 40.3ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะจากตาข่ายถึงเส้นหลัง 0.50 วินาที
2 ข้างห่างกันประมาณ 1 ฟุต
น้ำหนักตัวทิ้งไปด้านหน้าให้มากที่สุด
ยืนเปิดส้นเท้า
แขนทั้ง 2 ข้างอยู่ด้านหน้าลำตัวเพื่อเตรียมตัวรับบอลได้ง่าย ท่าทางการเตรียมรับที่ถูกต้องสำหรับผู้เล่นแดนหลังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ท่าทางที่ถูกต้องจะทำให้ประสิทธิภาพการรับบอลสูงขึ้นด้วย หากเราพิจารณาความเร็วของลูกตบจะทำให้เราเห็นภาพว่าทำไมท่าทางการรับที่ถูกต้องจึงจำเป็นในการเล่นวอลเลย์บอล
ความเร็วของลูกบอลที่เกิดจากการตบ
ทีมชาย 27 เมตร/วินาที หรือ 60.6 ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะจากตาข่ายถึงเส้นหลัง 0.333 วินาทีทีมหญิง 18 เมตร/วินาที หรือ 40.3ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะจากตาข่ายถึงเส้นหลัง 0.50 วินาที
2 ข้างห่างกันประมาณ 1 ฟุต
น้ำหนักตัวทิ้งไปด้านหน้าให้มากที่สุด
ยืนเปิดส้นเท้า
แขนทั้ง 2 ข้างอยู่ด้านหน้าลำตัวเพื่อเตรียมตัวรับบอลได้ง่าย
ความเร็วการเคลื่อนไหวของแขน
จากเข่าถึงไหล่ 0.44 วินาที
จากไหล่ถึงเข่า 0.39 วินาทีไมล์ต่อชั่วโมง ระยะจากตาข่ายถึงเส้นหลัง 0.333 วินาทีทีมหญิง 18 เมตร/วินาที หรือ 40.3ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะจากตาข่ายถึงเส้นหลัง 0.50 วินาที
2 ข้างห่างกันประมาณ 1 ฟุต
น้ำหนักตัวทิ้งไปด้านหน้าให้มากที่สุด
ยืนเปิดส้นเท้า
แขนทั้ง 2 ข้างอยู่ด้านหน้าลำตัวเพื่อเตรียมตัวรับบอลได้ง่าย
การเคลื่อนที่ (Movement)
การเคลื่อนที่ในการเล่นวอลเลย์บอลอาจจะแบ่งลักษณะการเคลื่อนที่หลักๆ ได้ 3 ลักษณะคือ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า การเคลื่อนที่ไปด้านข้าง การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง
1.การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Forward Movement) เป็นทักษะการเคลื่อนที่ที่ใช้สำหรับเคลื่อนที่ไปเล่นบอลด้านหน้า การเคลื่อนที่ไปด้านหน้าที่เป็นเทคนิคขั้นสูงสำหรับนักกีฬาคือ การพุ่งไปข้างหน้า (Diving) เทคนิคการพุ่งสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ระยะทางที่มากกว่าการเคลื่อนที่ลักษณะอื่นด้วยเวลาที่รวดเร็ว
ระยะทาง 3 เมตร การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างเร็ว (Dash) 1.33 วินาที
ระยะทาง 3 เมตร ใช้การเคลื่อนที่แบบพุ่ง (Dive) ใช้เวลา 1.21 วินาที
ระยะทาง 6 เมตร การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วใช้เวลา 1.94 วินาที
ระยาทาง 6 เมตร ใช้การเคลื่อนที่แบบพุ่ง (Dive) ใช้เวลา 1.87 วินาที
ระยะทาง 3 เมตร ทแยงมุม 45 องศา
เคลื่อนที่โดยวิธีการก้าวเท้าใช้เวลา 1.51 วินาที
เคลื่อนที่โดยวิธีการก้าวเท้าใช้เวลา 1.42 วินาที
เคลื่อนที่โดยใช้การพุ่งม้วนตัวใช้เวลา 1.30 วินาที
การเคลื่อนที่ไม่ว่าจะด้านซ้ายหรือขวาจะใช้เวลาหลังตัดสินใจ 1.30 วินาที
3.การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง (Moving backwards) ลักษณะการเคลื่อนที่อาจจะใช้แบบวิ่งอย่างรวดเร็วแล้วหมุนตัวกลับเพื่อเล่นบอลหรือก้าวเท้าถอยหลัง แต่ไม่ว่าจะใช้การเคลื่อนที่ลักษณะใดก็ตามสิ่งที่สำคัญคือ สายตาจะต้องมองไปที่บอลเสมอ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)